ที่ Aprica เราเชื่อว่าหลักการ 8.3.8 Principle คือ หัวใจหลักที่เรายึดมั่นในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กที่ดีเยี่ยมเพื่อสร้างรอยยิ้มให้กับทุกครอบครัว
8 พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กวัยแรกเกิดที่ยังไม่สมบูรณ์
8 อวัยวะและระบบในร่างกายทั้ง 8 ที่ยังอ่อนแอและบอบบาง ในช่วงวัยแรกเกิดอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายลูกน้อยเช่น สมอง ศีรษะ คอ กระดูกสันหลังซึ่งเป็นส่วนลำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบของเค้าจะบอบบางและอ่อนแอมาก คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความระมัดระวังและดูแลเป็นพิเศษ
1. ศีรษะและคอที่ยังไม่แข็งแรง
เด็กแรกเกิดจะมีขนาดศีรษะเท่ากับ 1 ใน 4 ของร่างกาย และถือได้ว่ามีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับ ขนาดของร่างกายโดยรวม
2. ระบบหายใจที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
ทารกจะใช้ท้องเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่ช่วยในการหายใจ บ่อยครั้งเมื่อบริเวณท้องงอตัวหรือถูกกดทับจะเกิดสภาวะหายใจติดขัดได้ง่าย
3. กระดูกสันหลังที่อ่อนและเป็นเส้นตรง
เด็กแรกเกิดจะมีแนวกระดูกสันหลังเป็นเส้นตรงสะโพกสามารถเคลื่อนได้ง่าย ดังนั้นเราจึงควรดูแลจัดให้สรีระอยู่ในท่านั่งและนอนที่เหมาะสมสามารถขยับแขนและขาได้ง่ายเป็นธรรมชาติ
4. อุณหภูมิในร่างกายที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
เด็กทารกมีความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิในร่างกายต่ำ ดังนั้นการช่วยปรับอุณหภูมิแวดล้อมให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง
5. การตื่นและนอนที่ยังไม่เป็นระบบ
เด็กแรกเกิดจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอน และจะเริ่มเรียนรู้ความแตกต่างของกลางวันกลางคืน เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4
6. ผิวหยังที่อ่อนโยนและขาดการปกป้อง
ผิวหนังของเด็กมีความหนาเพียงครึ่งเดียวของผิวผู้ใหญ่ จึงไวต่อสิ่งสัมผัสและแห้งง่าย ด้วยรูขุมขนที่ละเอียดเล็กจึงทำให้คลายความร้อนได้ช้า มีเหงื่อออกมาก
7. ประสาทสัมผัสที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่
ทารกจะมีระยะการมองเห็นสั้นๆเด็กจะรับรู้ข้อมูลส่วนใหญ่ผ่านการสัมผัสทางด้านร่างกาย
8. ระบบภูมิต้านทานที่อ่อนแอ
สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กในวัยแรกเกิด จะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่ติดตัวเด็กไปเป็นระยะเวลาหลายปี
3 พัฒนาการทางด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กวัยแรกเกิด
1.ความมั่นใจและสายใยแห่งความผูกพันธ์เกิดขึ้นได้จากกายสัมผัส
การสัมผัสด้วยการกอดและการสบตาจากแม่หรือคนรอบข้าง คือสิ่งมหัศจรรย์ที่ก่อให้เกิดความมั่นใจของลูกน้อย เมื่อแม่พยายามปลอบในเวลาที่ลูกร้อง การยิ้มตอบเมื่อแม่พูดคุยด้วย สิ่งเหล่านี้คือสายใยแห่งความผูกพันที่ทำให้ลูกรู้สึกอบอุ่น และไว้ใจซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างให้ลูกมีบุคลิกและการแสดงออกในเชิงบวกได้
2. ประสาทสัมผัสทั้งห้าจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น
เด็กในวัยแรกเกิด – 1 ปี จะพยายามเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยการนำเข้าปาก และเมื่อย่างเข้าสู่วัยขวบปีแรก เด็กจะสนใจอยากเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวด้วยการสัมผัสและการมอง ซึ่งความอยากรู้อยากเห็นนี้เองจะเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้และทักษะทางด้านร่างกาย การเรียนรู้โลกภายนอกด้วยการสัมผัสกับลมเบาๆและได้ยินเสียงจากธรรมชาติจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้อย่างดี
3. รอยยิ้มจากคนรอบข้างช่วยให้หนูน้อยมีพัฒนาการในการสื่อสารและเข้าสังคมได้ดี
เมื่อย่างเข้าสู่เดือนที่ 2 เด็กจะเริ่มรู้จักการยิ้มซึ่งถือได้ว่าเป็นพัฒนาการแรกในการเข้าสังคมด้วยการมีปฏิกริยาโต้ตอบและบอกความรู้สึกให้ผู้คนรอบข้างได้รับรู้ความสามารถในการสื่อสารขั้นพื้นฐานนี้ จะได้รับการพัฒนาโดยเริ่มจากความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูกและจะค่อยๆ พัฒนาไปสู่พ่อและบุคคลรอบข้าง
8 แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการปกป้องและดูแลเด็ก
1.จัดให้อยู่ในท่านอนราบ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรปรับเปลี่ยนให้สามารถรองรับสรีระท่านอนที่เป็นธรรมชาติโดยไม่ก่อให้เกิดการปิดกั้นทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเมื่อเด็กอยู่ในวัยแรกเกิด
2. ปกป้องสมอง ศีรษะ คอ และกระดูกสันหลัง
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีจะต้องช่วยปกป้องศีรษะจากการกระทบกระเทือนรอบข้าง และช่วยจัดให้ศีรษะและคอตั้งตรงด้วยการรองช่วงต้นคอได้อย่างพอดี
3. ปรับเปลี่ยนท่าอุ้มนั่ง นอน ตามพัฒนาการของเด็ก
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเด็กในช่วงขวบปีแรก และควรรองรับท่านั่งและนอนได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ส่งผลต่อการขยับแขนและขาของเด็ก
4. มีระบบระบายอากาศที่ดี ช่วยลดความอับชื้น
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรจะมีระบบระบายอากาศและใช้วัสดุที่ช่วยลดความอับชื้นได้อย่างดี เพื่อช่วยปรับลดอุณหภูมิความร้อนในร่างกายของเด็กในวัยแรกเกิดได้
5. ปกป้องลูกน้อยจากฝุ่นควันและสารที่เป็นอันตราย
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรมีระดับความสูงจากพื้นที่เหมาะสมและใช้วัสดุที่สามารถถอดซักทำความสะอาดได้ง่าย เพื่อช่วยให้ทารกได้รับการปกป้องจากฝุ่นและสารที่เป็นอันตรายจากพื้น
6. ลดแรงกระแทกและการสั่นสะเทือนได้ดี
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีควรมีโครงสร้างที่แข็งแรง ลดการกระแทกและการสั่นสะเทือนได้เป็นอย่างดี เพื่อช่วยให้สมองของลูกน้อยไม่ถูกกระทบกระเทือนและหลับสบายตลอดการเดินทาง
7. มุ่งเน้นให้การนอนหลับได้อย่างสบาย และเป็นระบบ
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดีอย่างเปลไกวที่มีจังหวะการไกวที่เหมาะสมจะช่วยให้ทารกมีระดับการนอนที่สงบนิ่ง และช่วยพัฒนาช่วงเวลาการนอนในแต่ละวันให้เป็นระบบมากขึ้น
8. ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพ่อ แม่ ลูก
ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กแรกเกิดที่ดี ควรช่วยให้คุณแม่ดูแลลูกน้อยได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งนอกจากจะเสริมสร้างสายใยความผูกพันธ์ระหว่างแม่และลูกผ่านการสัมผัส การมองเห็น แล้วยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้สำหรับทารกได้อีกด้วย